หนวยที่ 2 การทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้
       
       วัตถุประสงค์ หน่วยการเรียนที่ 2 การทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้
           1. ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญของการทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้
           2. ผู้เรียนสามารถบอกหลักการทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้
           3. ผู้เรียนสามารถบอกส่วนประกอบการทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้ี้
           4. ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนของการทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้
           5. ผู้เรียนสามารถบอกข้อควรระวังในการทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้
 


ก.วัสดุเหนียว
    
ข.วัสดุเปราะ
รูปที่ 27 แสดงค่าความเค้น ความเครียดของวัสดุเหนียว และวัสดุเปราะ
    
 
รูปที่ 28 แสดงประเภทการทดสอบ

1. ความสาคัญการทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้

      ในการเลือกใช้วัสดุสาหรับงานบางประเภท วิศวกรจำเป็นต้องทราบถึงคุณสมบัติความเหนียว (Toughness) ของวัสดุเพื่อประเมินโอกาสการแตกหักเสียหาย และความปลอดภัยในขณะใช้งานในสภาวะต่าง ๆ เช่นการใช้งานเหล็กกล้าทนสึกของรถดัมพ์ที่ต้องรับแรงกระแทกจากการบรรทุกหิน เหล็กกล้า เครื่องมืองานร้อนหรือเหล็กสำหรับงานท่อความดันที่ใช้ในอุณหภูมิต่ำ เป็นต้น

       ความเหนียว (Toughness) คือ ความสามารถของวัสดุที่จะดูดซับพลังงานไว้ได้โดยไม่เกิดการแตกหัก ความเหนียวมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรง และความสามารถในการยืดตัวของวัสดุ เนื่องจากโดยทั่วไปเรามักจะประเมินค่าความเหนียวจาก Modulus of Toughness ซึ่งกำหนดให้มีค่าเท่ากับพื้นที่ใต้เสันโค้งความเค้น(a) ความเครียด (b) ที่ได้จากการทดสอบแรงดึง (Tensile test) ดังแสดงในรูปที่ 27ซึ่งค่า Modulus of Toughness นี้ จะแสดงถึงพลังงานต่อหน่วยปริมาตรของวัสดุที่ต้องใช้ในการทำให้วัสดุเกิดการแตกหักเสียหาย วัสดุที่มีความเหนียวสูงกว่าจะใช้พลังงานต่อหน่วยปริมาตรของวัสดุที่สูงกว่าในการทำให้วัสดุเกิดการแตกหักเสียหาย

       วิธีการทดสอบความเหนียวที่นิยมใช้ คือ การทดสอบแรงกระแทก (Impact Test) ซึ่งเป็นการทดสอบ เพื่อหาการวัดค่า Impact Energy, Impact Transition Temperature (ITT) และศึกษาผิวรอยแตก (Fracture Surface) ของวัสดุ โดยการตีชิ้นทดสอบขนาดมาตรฐานจนเกิดการแตกหัก จุดประสงค์ในการทำการทดสอบ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการรับแรงกระแทก (Dynamic Load) ของวัสดุ

        สำหรับค่าที่นิยมวัดมากที่สุดในการทดสอบแรงกระแทก คือ ค่า Impact Energy ซึ่งหมายถึงพลังงานที่วัสดุดูดซับไว้ได้เมื่อได้รับแรงกระแทก (Dynamic Impact Force) จนเกิดการแตกหัก โดยมีวิธีการทดสอบมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Charpy Impact Test และ Izod Impact Test เครื่องมือทดสอบทั้ง 2 ชนิดนี้แสดงไว้ในรูปที่ 28

       วิธีการทดสอบของทั้ง 2 ชนิดนี้คล้ายกัน คือ จะวางชิ้นงานทดสอบไว้รับแรงกระแทกจากการเหวี่ยงของลูกตุ้มที่น้ำหนักค่าหนึ่ง (น้ำหนัก และขนาดของตุ้มเหวี่ยงจะต้องเป็นไปตามที่มาตรฐานที่เลือกใช้ในการทาการทดสอบระบุไว้) พลังงานที่กระแทกชิ้นทดสอบกับชิ้นที่อยู่กับมวลของลูกตุ้ม และความเร็วของมันขณะกระแทก จุดกระแทกจะเป็นจุดต่ำสุดของการเหวี่ยง ซึ่งเป็นจุดที่ลูกตุ้มมีความเร็วสูงที่สุด เมื่อลูกตุ้มกระทบชิ้นทดสอบ ลูกตุ้มจะเสียพลังงานไปจำนวนหนึ่ง ในการทำให้ชิ้นทดสอบหัก ค่าพลังงานที่เสียไปนี้ก็ คือ ค่า Impact Energy นั่นเอง มีหน่วยเป็น ฟุต- ปอนด์

 

ข้อแตกต่างระหว่าง Charpy และ Izod

       คือ การวางชิ้นงานทดสอบ โดย Charpy test จะวางชิ้นทดสอบไว้ในแนวระดับ และให้ลูกตุ้มตกกระแทกที่ด้านตรงข้ามกับรอยบาก ส่วน Izod Test จะวางชิ้นทดสอบไว้ในแนวตั้ง และให้ลูกตุ้มกระแทกกับด้านที่มีรอยบาก